messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลรามราช info_outline ข้อมูลการติดต่อ account_box คณะผู้บริหาร account_box หัวหน้าส่วนราชการ
องค์การบริหารส่วนตำบล
รามราช
อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
วัดโพธิ์ศรี

วัดโพธิ์ศรี
ตั้งอยู่บ้านบะหว้า ม.10 ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม อยู่บนเส้นทางหลวงชนบท นพ.3014 เส้นบ้านหนองไฮ - ท่าอุเทน ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สอ ขันติโก พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อายุ 113 ปี จำพรรษา และเชื่อกันว่าเป็นผู้มีอายุมากที่สุดในจังหวัดนครพนม จึงมีญาติโยมจำนวนมากศรัทธาให้ความเคารพ หลวงปู่สอ ขันติโก มีนามเดิมว่า "แก้วดี" เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 ณ บ้านบะหว้า บิดาเป็นชาวลาวชื่อ "นายเพ็ง" มารดาเป็นชาวไทยชื่อ "นางจันทร์" มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คน วันหนึ่งโยมแม่พาไปกราบนมัสการองค์พระธาตุอุเทน และได้พบกับหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน ผู้สร้างพระธาตุอุเทน จึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และอยู่รับใช้หลวงปู่สีทัตถ์จนได้บวชเป็นสามเณร ต่อมาได้เล่าเรียนวิชาต่างๆจนแตกฉานในพระธรรมวินัย เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีหลวงปู่สีทัตถ์เป็นผู้อุปัชฌาย์ หลวงปู่สอ ขันติโก ได้ละสังขารเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2562 ด้วยโรคชรา ซึ่งถือเป็นพระอริยสงฆ์ 6 แผ่นดิน สิริอายุรวม 114 ปี 93 พรรษา
วัดป่าดอนธาตุ
วัดป่าดอนธาตุ (ข้อมูลของกรมศิลปากรที่ขึ้นทะเบียนเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ.2448) ชื่อโบราณสถาน วัดป่าดอนธาตุ ชื่อเรียกทั่วไป ที่ตั้ง บ้านโพนค้อ ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พิกัดแผนที่ ลำดับชุด 1501 S ระวาง NE 48-10 มาตราส่วน 1 : 250,000 อาณาเขต ทิศเหนือ จรดที่สาธารณประโยชน์ ทิศใต้ จรดที่สาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออก จรดที่สาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก จรดที่สาธารณประโยชน์ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมาไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างสมัยใด ทราบนามผู้สร้างคือ พระครูวินัย ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่า มีทางเกวียนเป็นที่สัญจรไปมาของผู้คนแถบนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ธาตุองค์นี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแถบนี้ ในการขุดปรับพื้นที่เคยพบในเสมาหินทรายแดงแตกหักอยู่ บางส่วนทางวัดเก็บรักษาไว้ นอกจากนี้ยังพบไหจากเตาลุ่มน้ำสงคราม ภายในบรรจุเถ้ากระดูกและเครื่องมือหินแบบมีบ่า เงินรางและเงินพดด้วง ซึ่งน่าจะเป็นของที่กลุ่มชนเชื้อสายลาวที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว นำอัฐิมาฝังไว้รอบพระธาตุ ซึ่งพระธาตุองค์นี้น่าจะมีอายุประมาณ 200-300 ปีมาแล้ว และมีการสรงน้ำธาตุในวันสงกรานต์ของทุกปี รูปแบบสถาปัตยกรรม ลักษณะของธาตุ ก่อด้วยอิฐ ถือปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ฐานกว้างยาวด้านละ 2.80 เมตร ได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจากธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย มีลักษณะส่วนฐานเตี้ยซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นบนประดับลายปูนปั้นคล้ายขาสิงห์เรียงเป็นแถวโดยรอบ จานนั้นเป็นแถวแอวขันปากพาน (ฐานบัวลูกแก้วอกไก่)รองรับส่วน "ตีนหีบ" ทรงบัวเหลี่ยมมีลักษณะเรียวคอด ที่ฐานตีนหีบประดับด้วยกลีบบัวโดยรอบ ระหว่างปลียอด แลส่วนตีนหีบคั่นกลางด้วยแอวขัน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนปลียอดเป็นทรงบัวเหลี่ยมมีที่ฐานประดับด้วยกลีบบัวเช่นกัน การดำเนินการของกรมศิลปากร จัดทำแผนผังขอประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี พ.ศ.2543 โดยจัดทำขอบเขตพื้นที่โบราณสถานแล้ว โดยสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี แต่ไม่แล้วเสร็จ ปัจจุบันสำนักงานศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด จะดำเนินการขอประกาศขอบเขตขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประวัติอความเป็นมาของพระธาตุวัดป่าดอนธาตุ จากการรวบรวมข้อมูลของพระอาจารย์ สมศักดิ์ จนโท เจ้าอาวาสวัดป่าดอนธาตุ บ้านโพนค้อ อุปสมบท ณ วัดศรีเทพฯ อ.เมืองนครพนม อายุ 36 ปี 15 พรรษา รวบรวมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ที่มา ลุงเซียงยัง (บุญยัง เสนาสี) ปัจจุบันอยู่บ้านโพนก่อ ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม อายุ 88 ปี และแม่อุ้ยบุญมา เดชทะสอน บ้านหนองไฮ ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม อายุ 90 ปี คุณลุงสุ (นายสุ เสนาสี) ปัจจุบันอยู่บ้านโพนค้อ หมู่ 4 ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน อายุ 90 ปี กำเนิดหมู่บ้านสระพังทอง โดยมี 3 ครอบครัว เป็นครอบครัวแรกเริ่ม คือ 1. นายเดช และภรรยา ชื่อ นางสอน ต้นตระกูล เดซทะสอน 2. นายเส และภรรยา ชื่อ นางสี ต้นตระกูล เสนาสี 3. นายวงศ์ และภรรยา ชื่อ นางทอง ต้นตระกูล วงศ์โพนทอง หมู่บ้านเติบโตเป็นลำดับ ในสมัยต่อมาชาวบ้านทำการค้ากับซนเผ่าขอม เผ่าแสก เผ่าอ้อ เผ่าโซ่ เผ่ากะเลิง(กะเริง) หมู่บ้านสระพังทองยังมีลักษณะเป็นทางผ่านไปมาค้าขายระหว่างไทย (ต.รามราช กับ ลาว) ด้วย กำเนิดพระธาตุดอนธาตุและดอนเจ้าปู่ตา เมื่อสังคมหมู่บ้านเจริญขึ้นเป็นดำดับ ต่างเห็นพ้องกันว่าไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจจึงปรึกษากันสร้างวัดขึ้น (พระธาตุ) โดยได้มีท่านยาคูธรรมหรือวินัย เป็นผู้มีความรู้ทางศิลปะ เป็นผู้อาสาพาชาวบ้านสร้างพระธาตุขึ้น เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจได้บรรจุพระพิมพ์พระพุทธรูป - ทองคำ - เงิน และของขลังต่างๆ ไว้มากมายพร้อมทั้งเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในบรรพบุรุษ รวมทั้ง เสริมความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงตั้งศาลปู่ตาขึ้นที่ข้างหนองสระพังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกของธาตุ รวมทั้งนำกระดูกบรรพบุรุษที่ได้อัญเชิญดวงวิญญาณเจ้าพระยานครคุง และนางคุงภรรยา มารักษาหมู่บ้าน และองค์พระธาตุ ส่วนดอนเจ้าตาจึงได้ชื่อว่าศาลเจ้าพระยานครคุงและนางคุง ที่เห็นในปัจจุบัน และเมื่อสร้างพระธาตุเสร็จ ซาวบ้านก็ตั้งเป็นวัด ชาวบ้าน เรียกว่า ดอนธาตุ โดยมีท่านยาคูธรรม หรือยาคูวินัย เป็นเจ้าอาวาสและต่อมาท่านยาคูธรรมป่วยหนัก ก่อนเสียชีวิตได้รับปากซาวบ้านว่าจะเป็นผู้ดูแลรักษาพระธาตุสืบไป ชาวบ้านจึงได้บรรจุกระดูกอัฐิของท่านยาคูธรรมไว้ใต้พระธาตุนั้นเมื่อท่านถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุดอนธาตุ พระธาตุดอนธาตุเป็นพระธาตุที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่อ้อนวอนบนบานศาลกล่าวมา 200 ปี หากผู้ใดมีความศรัทธาแล้วสวดมนต์อ้อนวอนขอพระธาตุก็มักจะสมปรารถนาในที่สุด เมื่อปี พ.ศ.2520 มีการลักลอบขุดและลักขโมยของมีค่าจากพระธาตุไป แต่แล้วก็พบจุดจบด้วยการเสียชีวิตไปหมด โดยหลักฐานนี้สามารถสอบถามได้จากชาวบ้านในหมู่บ้านโพนค้อ หมู่ 4 ซึ่งปรากฎให้เห็นนับสิบราย และไม่นานมานี้ทางอำเภอท่าอุเทนได้มาขุดค้นพบโครงกระดูกคนในท่านั่งคุดตู้ใต้ฐานพระธาตุ รวมทั้งพระเครื่องพระพุทธรูป เงินพดด้วง เงินลาด ไหกระดูก ของใช้อื่นๆ รวมทั้งสิ้นของมีค่ามากมาย ที่ทางวัดเก็บรักษาไว้ หมู่บ้านสระพังทองบรรพบุรุษและชุมชนดั้งเดิม ต่อมาบ้านสระพังทองเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยการนำของปู่ทวดเซียงรุน ปู่ทวดสาย ปู่ทวดโคน ตระกูลวงศ์โพนทอง และลูกหลาน 3 ครอบครัว ได้ลงไปสร้างหมู่บ้านใหม่ชื่อบ้านโพนทอง สร้างวัดเก่าบ้านโพนทอง สร้างสิมหนองห้าง (เดิมเป็นหนองมีสัตว์ลงมากินน้ำมาก ซาวบ้านจึงนิยมจับสัตว์ จึงเรียกสิมหนองห้าง) ปัจจุบันทางการขุดทำสระหมดแล้ว โดยมีพระอาจารย์คำผาชาวบ้านโพนแดงเป็นเจ้าอาวาสวัดองค์แรก มีนายสายเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก จากบ้านโพนทองสู่หมู่บ้านอื่นๆ ต่อมาบ้านโพนทองเกิดปัญหาน้ำท่วม โรคระบาดขึ้น และการแตกความสามัคคี ลูกหลานจึงอพยพออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่อีก 3 หมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2473 คือ 1. บ้านโพนก่อ หมู่ 6 ต.รามร่าช เพราะมีตันกอใหญ่อยู่บริเวณหมู่บ้าน ปัจจุบันอยู่ที่บริเวณหน้าโรงเรียน มีเฒ่าปูเชียงเกต เฒ่าปูเบ้า เฒ่าปูสาม เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง มีทิดบุญมีเป็นผู้ใหญ่บ้าน 2. บ้านโพนค้อ หมู่ 4 ต.รามราช ถือชื่อตามต้นค้อใหญ่ ปัจจุบันอยู่ที่บริเวณบ้านลุงเสริมซึ่งมีเฒ่าจารย์กัณหาซึ่งเป็นทิด พาลูกบ้านออกมาตั้งหมู่บ้าน 3. บ้านหนองไฮ หมู่ 5 ต.รามราช ถือชื่อตามดันไฮใหญ่ และมีหนองน้ำ ปัจจุบันอยู่ที่บริเวณที่นาลุงคำพัน มีนายบุดทาซึ่งเคยบวชร่วมกับเฒ่าปู่เดช พาลูกบ้านออกมาตั้งหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ.2542 ชาวบ้านโพนค้อ - โพนก่อ - หนองไฮ ได้พากันบูรณะสร้างวัดป่าดอนธาตุขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน ส่วนองค์พระธาตุได้บรรจุพระสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุซึ่งเป็นอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์เท่าเม็ดข้าวโพด และอัฐิฐธาตุหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม องค์เท่าเม็ดมะขามพระอัฐิธาตุส่วนศีรษะของท่านพระอาจารย์วัน อุตโม องค์เท่าหัวแม่มือ อัฐิธาตุพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร (พระสมศักดิ์ ได้รับมาจากพระอาจารย์สุนิยม จันทิโย วัดไตรรัตน์วราราม อ.เมืองนครพนม) พร้อมของมีค่า เช่น ทองคำ เงิน พระเครื่องต่าง ๆ โดยทำการบรรจุ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2543 เวลา 09.09 น. พระสมศักดิ์ จนโท เป็นผู้พาชาวบ้านโพนค้อ - โพนก่อ - หนองไฮ สร้างถวายเป็นพุทธบูชา - ธรรมบูชา - สังฆบูชา ลำดับผู้นำพระสงฆ์ (ช่วงแรก) 1.ญาคูธรรมหรือญาคูวินัย ประมาณปี พ.ศ.2235 -2280 (ช่วงนี้ พ.ศ. 2281 - พ.ศ. 2479 เป็นวัดร้างทำให้ว่างเว้นจากการมีพระอยู่จำพรรษา ช่วงแรก) ลำดับผู้นำสงฆ์ (ช่วงที่สอง มีพระเข้าอยู่จำพรรษ) 1.ญาคูจารย์บัวพา สิริปุญโณ และญาคูสีทา ประมาณปี พ.ศ.2480 - พ.ศ. 2484 (ช่วงนี้ พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2531 เป็นวัดร้างทำให้ว่างเว้นจากการมีพระอยู่จำพรรษา ช่วงที่สอง) ลำดับผู้นำสงฆ์ (ช่วงที่สาม มีพระเจ้าอยู่จำพรรษา) 1.พระภิกษุ สุ ธัมมธโร (สุ เสนาสี) ประมาณปี พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน 2.พระอธิการสมศักดิ์ จนโท
วัดป่าดอนธาตุ